เมืองไทยในฝันของคุณ เป็นแบบไหน ?

มาร่วมสร้างข่าวดีสู้ข่าวร้าย ด้วยสูตร(ไม่ลับ)
August 21, 2021
ตระหนกก่อนตระหนักเป็นเรื่องธรรมดา พลังงานบวก รวมพลังฝ่าวิกฤต COVID-19
August 21, 2021
 
 

ทุกคนที่เห็นคำถามนี้  คงมีคำตอบอยู่ในใจที่แตกต่าง และเต็มเปี่ยมไปด้วยความงดงาม สดใส  อบอุ่น  ความอุดมสมบูรณ์  ความมั่งคั่ง และยั่งยืน   แต่…ก็หลายครา ก็มักจบลงด้วยคำที่ว่า  “เป็นไปไม่ได้” หรือ “มันยากจะเกิดขึ้นได้จริง”

ดร. อุดม หงส์ชาติกุล ผู้เชี่ยวชาญการออกแบบความร่วมมือและนักสร้างการเปลี่ยนแปลงเชิงบวก  และผู้นำการขับเคลื่อนสังคมสุขภาวะ Imagine Thailand Movement  กล่าวว่า    “ สิ่งรุมเร้ารอบด้านและปัญหามากมายที่สังคมไทยกำลังเผชิญอยู่ทุกวันนี้  เป็นปัญหาเชิงระบบที่มีความซับซ้อนจนยากที่ใครคนใดคนหนึ่ง หรือองค์กรใดองค์กรหนึ่งจะสามารถแก้ไขได้เพียงลำพัง”

 นั่น…..จึงไม่แปลกที่เรามักจะได้รับคำตอบที่ปิดกั้นจินตนาการของเราว่า   เรื่องนี้ใหญ่เกินไป   เป็นไปไม่ได้ที่จะแก้ไข  และไม่รู้จะสร้างความร่วมมือให้เกิดขึ้นได้อย่างไร   จึงรู้สึกหมดหวัง  ล้มเลิกความตั้งใจที่จะริเริ่ม สร้างสรรค์  เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงที่ดีให้เกิดขึ้นในที่สุด ”

สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงทางสภาพแวดล้อม เศรษฐกิจและ สังคมอย่างสุดขั้วที่ทั่วโลก และประเทศไทย กำลังเผชิญอยู่อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้   อันเป็นผลมาจากความก้าวล้ำของเทคโนโลยี  การเติบโตอย่าวรวดเร็วของโซเซี่ยลมีเดีย   ที่เข้ามาเปลี่ยนแปลงรูปแบบการดำเนินชีวิต ความเชื่อ  โครงสร้างสังคม วิถีชีวิต  ส่งผลกระทบต่อคนในสังคมอย่างรุนแรง ทุกเพศ ทุกวัย โดยเฉพาะกับเยาวชน เกิดความแตกแยกทางความคิด ความเหลื่อมล้ำในสังคมมากมาย รวมถึงการเพิ่มขึ้นของปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ทางสุขภาวะ ไม่ว่าจะเป็นอุบัติเหตุบนท้องถนน  เหล้า บุหรี่ ยาเสพติด ที่มีช่องทางเข้าใกล้เยาวชนได้อย่างแยบยล รวดเร็ว และง่ายขึ้นทุกวัน 

เราจะสร้างภูมิคุ้มกัน ให้ เยาวชนไทย สังคมไทย ให้ห่างปัจจัยเสี่ยงรอบด้าน ที่มีผลต่อสุขภาวะที่ดีของคนในสังคม ได้อย่างไร  

 “สถานการณ์ปัจจัยเสี่ยงที่เกิดขึ้นในสังคมไทยปัจจุบัน คล้ายกับที่เคยเกิดขึ้นในเมืองชิคาโก ประเทศสหรัฐเมริกา แต่หลังจาก ที่  Imagine Chicago ซึ่งเป็นองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไร  ตระหนักถึงสถานการณ์ และผลกระทบ จึงได้ริเริ่มชวนชาวเมืองชิคาโก ให้ลุกขึ้นสร้างการเปลี่ยนแปลง  เพื่อให้ปัญหาเรื่องยาเสพติด อาชญากรรม ลดน้อยลง โดยใช้แนวทางการเปลี่ยนแปลงเชิงบวก ให้ทุกคนมีส่วนร่วม ทำให้ชิคาโก กลับมาเป็นเมืองที่น่าอยู่สำหรับทุกคน  โดยเฉพาะลูกหลาน ให้พวกเขาได้มีสุขภาวะดี เติบโตอย่างสดใส และห่างไกลจากปัจจัยเสี่ยง  โดยเริ่มจาก ชวนทุกคนจินตนาการถึงเรื่องราวดีๆ ที่มีอยู่ และชวนกันร่วมสร้างการเปลี่ยนแปลง

เช่นเดียวกับ การขับเคลื่อน Imagine Thailand Movement  ในประเทศไทย ภายใต้การนำของ ดร. อุดม หงส์ชาติกุล ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบความร่วมมือ และนักสร้างการเปลี่ยนแปลงเชิงบวก   ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจในการขับเคลื่อนสังคมไทยจาก  Imagine Chicago  โดยมีความเชื่อว่า การรับมือกับการเปลี่ยนแปลงอย่างสุดขั้วนี้ จะต้องอาศัยพลังความร่วมมืออย่างสุดขั้วด้วยเช่นกัน

“ เป็นเรื่องที่ท้าทายมาก ที่จะสร้างการเปลี่ยนแปลงเชิงระบบ หรือการหาทางออกให้กับปัญหาที่ซับซ้อนของประเทศ 

ด้วยเครื่องมือ ที่เรียกว่าห้องปฎิบัติการทางสังคม  ผมได้รับการสนับสนุนจาก  สสส.  ให้ริเริ่มการขับเคลื่อน Imagine Thailand Movement  เพื่อชวนภาคีเครือข่ายของ สสส. ที่ทำงานเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยงต่างๆ  มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ร่วมกันทำงาน  มาสร้างวัฒนธรรมความร่วมมือใหม่  เพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงให้สังคม โดยเฉพาะ เยาวชนไทย อนาคตของประเทศ   โดยเริ่มจากชวนทุกคน เข้าร่วมในกิจกรรมห้องปฏิบัติการทางสังคม   และชวนทุกท่านตอบ 2 คำถาม    “คุณอยากเห็นสังคมไทยเป็นอย่างไร ?” และ “คุณอยากเห็นเยาวชนไทยเป็นอย่างไร ? “

ในห้องปฏิบัติการทางสังคม หรือ  Social Lab ที่อาจเรียกได้ว่า เป็นพื้นที่สร้างสรรค์ เป็นพื้นที่สำหรับแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่ปลอดภัยที่สุดในโลก ทุกความเห็น ทุกประสบการณ์ของผู้เข้าร่วม ล้วนมีประโยชน์ มีคุณค่า ไม่ว่าคนนั้นๆจะเป็นใคร 

“ทุกคนจะได้มีโอกาสสื่อสารความตั้งใจ ความเห็น อย่างเท่าเทียม  ในกระบวนการห้องปฏิบัติการทางสังคม หน้าที่ผมคือรวมพลังของทุกคน  ทุกคนจะถูกปลุกให้ปลดปล่อย จินตนาการ ความคิด ที่เรียกว่า ปิ๊งแว็บ ตลอดเวลา   ภายใต้จุดมุ่งหมายร่วมกัน  พลังความร่วมมือจะค่อยๆ ถูกก่อตัว อย่างเป็นธรรมชาติ จากประสบการณ์การขับเคลื่อนสังคมในประเด็นต่างๆ ทุกคนจะตระหนักรู้ถึงปัญหาเชิงระบบที่ซับซ้อนมากขึ้น จะเริ่มเห็นโอกาสในการนำความรู้ ประสบการณ์ ไปต่อยอด หนุนเสริม เติมเต็ม ให้แก่กัน ตลอดจนเปิดรับความร่วมมือจากเพื่อนผู้เข้าร่วมกระบวนการอื่นๆ  ที่ทำให้งานที่กำลังทำสามารถสร้างผลกระทบเชิงบวก สร้างการเปลี่ยนแปลงอย่างสุดขั้วได้”

ในการขับเคลื่อน Imagine Thailand Movement จุดร่วมของผู้เข้าร่วมการขับเคลื่อนนั้นชัดเจน คือ การลดปัจจัยเสี่ยงให้เยาวชน  ร่วมกันสร้างสังคมสุขภาวะ และเมื่อเข้าใจแนวคิดการร่วมมือกัน พลังร่วมที่นำไปสู่การทำงานร่วมกันจึงเกิดขึ้นได้

“ในการสร้างการเปลี่ยนแปลงเชิงระบบ เรื่องสำคัญหลังจากที่ร่วมกันคิด ร่วมกันออกแบบแล้ว สิ่งสำคัญคือกระบวนการติดตามสนับสนุนการขับเคลื่อน การโค้ชชิ่ง การเข้าไปเยี่ยมเยียนในพื้นที่ โดยมีทีมงานติดตามสนับสนุน หรือในกระบวนการ Systems Change จะเรียกว่า Backbone Organization ที่คอยหนุนเสริม เชื่อมร้อยพลัง ความร่วมมือ  ให้เกิดขึ้นได้อย่างแท้จริง  ซึ่งระหว่างทาง เรายังมีการเติมความรู้ เครื่องมือใหม่ๆ ให้ผู้ร่วมขับเคลื่อนด้วย”

ในการขับเคลื่อน Imagine Thailand Movement  ที่ผ่านมา มุ่งเน้นไปที่การสร้างความร่วมมือเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงให้เยาวชน ในทุกด้าน รวมถึงเรื่องอุบัติเหตุ  ที่มีการเชิญภาคีเครือข่าย มาแลกเปลี่ยนเพื่อสร้างความ ในการกำหนดยุทธศาสตร์ความปลอดภัยทางถนนให้ประเทศไทย

“สิ่งที่เราอยากเห็นในการขับเคลื่อน Imagine Thailand Movement  คือ เรามีผู้นำร่วมเพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลง และเกิดนวัตกรรมความร่วมมือในมิติต่างๆ  ที่ภาคีเครือข่ายสามารถนำไปใช้  ในการร่วมกันจัดการกับปัญหาเชิงระบบ ปัญหาที่มีความซับซ้อน”  

การขับเคลื่อน Imagine Thailand Movement  ยังมีการขยายแนวคิดการสร้างความร่วมมือไปยัง  ศิลปินแห่งชาติ ปราชญ์ ปัญญาชน นักธุรกิจ สื่อสารมวลชน  ให้มาร่วมกันในห้องปฏิบัติการทางสังคม ซึ่งหนึ่งในผู้นำสร้างการเปลี่ยนแปลงต้นแบบ ที่ได้จุดประกายสร้างความร่วมมือให้เกิดขึ้นอย่างทรงพลัง  คือ  คุณครูเล็ก ภัทราวดี มีชูธน ศิลปินแห่งชาติ  ที่เห็นว่า หากทุกคนร่วมกันสร้างความเปลี่ยนแปลง ไม่นาน ความดีที่เปรียบเหมือนดอกไม้ดอกเล็กๆ ก็จะเติบโต เบ่งบานเต็มทุ่ง และสวยงาม

การขับเคลื่อน Imagine Thailand  ยังทำให้เกิดนวัตกรรมและเกิดการเรียนรู้เพื่อสร้างวัฒนธรรมสร้างความร่วมมือ การ  ดังเช่น  การรวมพลังความร่วมมือของภาคีเครือข่ายเพื่อสร้างชุมชนลุมพลี จ. พระนครศรีอยุธยา ให้น่าอยู่ น่ามาเที่ยว   โดยเครือข่ายครูโรงเรียนปลอดบุหรี่  เครือข่ายองค์กรงดเหล้า ผู้นำการขับเคลื่อนลดอุบบัติเหตุ   และปปส.   ได้เข้ามาร่วมทำงานกับชุมชนลุมพลี  ทั้งผู้ใหญ่บ้าน อบต  บ้าน วัด โรงเรียน มัสยิด  ในพื้น ต. ลุมพลี จังหวัดอยุธยา   ทำให้ชุมชนที่รู้สึกหมดหวัง รู้สึกหมดพลัง กับการจัดการกับปัจจัยเสี่ยงในท้องถิ่นให้หมดไป ได้กลับมามีพลังและ เกิดไอเดียใหม่ๆ  เห็นโอกาส เห็นศักยภาพความร่วมมือในการก้าวข้ามวิกฤติ มากกว่าจะจมอยู่ในวิกฤติ ที่ทำให้ปิดโอกาสดีไป

หัวใจสำคัญ และเป็นปัจจัยเริ่มต้นสู่การสร้างความร่วมมือที่มีพลัง คือ  พลังแห่งการตั้งคำถาม โดยคำถามในเชิงบวก สร้างสรรค์   จะเป็นประตู  ให้ทุกคนปลดปล่อยจิตนาการ ปิ๊งแว๊บอย่างเต็มที่ ที่จะร่วมกันแก้ปัญหา มากกว่าติดกับดัก ความซับซ้อน ความใหญ่ของปัญหา  และหัวใจสำคัญอีกข้อหนึ่งคือ การมีพื้นที่ปลอดภัย  เหมือนห้องปฏิบัติการทางสังคม  ที่ทำให้ทุกคนรู้สึกปลอดภัย  อยากมีส่วนร่วม อยากร่วมมือกันทำงาน

เส้นทางการเรียนรู้ การขับเคลื่อนสังคมสุขภาวะ Imagine Thailand Movement   เพื่อสร้างความร่วมมือในการสร้างการเปลี่ยนแปลงเชิงบวก  เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงให้เยาวชน  เพื่อสร้างสุขภาวะที่ดีให้ชุมชน  ได้รับความร่วมมือร่วมใจจากนักขับเคลื่อนสังคม นักวิชาการ อาจารย์หมอ ผู้นำชุมชน ทั้งในภาคีเครือข่ายสสส. และ จากภาคส่วนต่างๆ รวมถึงศิลปินแห่งชาติ ปราชญ์ ศิลปิน สื่อสารมวลชน และเยาวชน  มาร่วมถ่ายทอดประสบการณ์การขับเคลื่อน  เพื่อเป็นแรงบันดาลใจ เป็นตัวอย่าง สำหรับการขับเคลื่อนสังคมไทยให้ดีขึ้น  แม้ว่าจะยังจะเป็นระยะเวลาเพียง 3 ปี   ภายใต้การขับเคลื่อนสังคมสุขภาวะ Imagine Thailand Movement  ก็เริ่มเห็นความเปลี่ยนแปลงในภาคีเครือข่าย ชุมชน  และหลายกลุ่มทางสังคม  ที่ได้หันมาจับมือร่วมคิด ร่วมมือ และร่วมนำการสร้างความเปลี่ยนแปลงที่ดีๆ ให้เกิดขึ้นในหลายพื้นที่แล้ว

สำหรับท่านที่สนใจกรณีศึกษา ตัวอย่าง องค์ความรู้เพื่อสร้างความร่วมมือ สามารถเข้าไปดูรายละเอียดได้ที่เว็บไซต์

 Imagine Thailand  Movement   WWW.imaginethailandmovement.com