จากความเชื่อที่ว่า ศิลปะช่วยเยียวยาจิตใจเด็กได้ เพื่อใช้ชีวิตให้เหมาะสมและมีศีลธรรมต่อไป เชื่อว่าไม่มีเด็กไม่ดีและเด็กโง่อยู่บนโลก อยู่ที่ว่าผู้ใหญ่สามารถเข้าใจเด็กได้มากน้อยเพียงใด เป็นหนึ่งในแรงขับเคลื่อนให้ครูเล็ก ภัทราวดี มีชูธน ริเริ่มโปรเจคใหม่แล้วสานต่ออย่างสม่ำเสมอ
จากการตั้งคำถามสู่การให้ความเมตตา
ครูเล็กเริ่มตั้งคำถามกับตนเองว่าจะทำอย่างไรให้ชีวิตศิลปินนั้นมีคุณค่ามากกว่าเพียงได้ชื่อว่าเป็นศิลปินแห่งชาติ จนมาเจอป้ามลที่ใช้ความรักดึงด้านที่สวยงามของเด็กบ้านกาญจนาออกมาได้
จากแรงบันดาลใจจากป้ามล ทิชา ณ นคร ที่โอบกอดเยาวชนที่เคยติดคุกที่บ้านกาญจนาด้วยความรักความเข้าใจ ทำให้ครูเล็ก ภัทราวดี เริ่มจุดประกายในการทำเสน่ห์รอยร้าว ก้าวไปสู่เสน่ห์รอยรั่ว จุดประกายจากคนหนึ่งสู่คนหนึ่งกลายมาเป็นความร่วมมือจากหลายคนจนมาเป็นละครสะท้อนสังคม
อยู่มาวันหนึ่ง ครูเล็กได้มีโอกาสถามเด็กบ้านเพชรหึงษ์ว่าทำไมถึงไม่กลับบ้าน เด็กตอบว่ากลับไปก็ไม่มีใครรักเขาเลย ครูจึงคอยแวะเวียนมาเยี่ยมเยียนอย่างสม่ำเสมอ สอนทำอาหาร สอนให้เด็กเล่นเสกต จนเด็กเริ่มไว้ใจ เมื่อเติมเต็มสุนทรียภาพทางจิตใจ เด็กจะเริ่มอยากดูแลตนเองด้วยการรักษาความสะอาด ไม่กลับไปเสพยา และกลับไปเรียนการศึกษานอกโรงเรียนจนจบ ทำให้เห็นว่าเมตตาเปลี่ยนเด็กไปในทางที่ดีขึ้น
เมื่อเด็กแต่ละคนเริ่มเก่งขึ้น จึงอยากหาอะไรให้ทำเพิ่มเพื่อสอนให้เห็นคุณค่าชีวิต จึงเกิดปิ๊งแว้บได้โครงเรื่องจากเรื่องราวปัญหาของเด็กแต่ละคนมาทำละครเวทีเสน่ห์รอยร้าว และทำลานเสกตที่หัวหินเพื่อละครเรื่องนี้และใช้เล่นเสกตต่อไปในอนาคต
ปรากฏว่าได้เสียงตอบรับเป็นอย่างดี คนดูชอบมากเนื่องจากคุณพ่อคุณแม่หลายคนไม่รู้เลยว่าเลี้ยงลูกมาผิดวิธี แล้วเนื้อหานั้นกระแทกใจคนดูเป็นอย่างมาก

แม้ต่างที่มา ก็สามารถทำงานร่วมกันได้
นักแสดงเรื่องเสน่ห์รอยร้าวนั้นไม่ใช่คนอื่นไกล มาจากเด็กพระประแดง ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนบ้านกาญจนาภิเษก และโรงเรียนภัทราวดี หัวหิน ที่สมัครใจอยากเล่นเรื่องนี้ ซึ่งได้รับการฝึกฝนทั้งการเล่นเสกตและการแสดงจนสามารถเล่นได้ อีกทั้งยังมีลูกศิษย์โรงเรียนภัทราวดี หัวหิน และศิลปินมืออาชีพ อาทิ นรินทร ณ บางช้าง, ช.อ้น ณ บางช้าง, จักรินทร์ เพชรวรพล (แชมป์เสกตบอร์ด) ที่มาร่วมเล่นละครเวทีเรื่องนี้
ทีมงานสามารถทำงานร่วมกันได้เป็นอย่างดีแม้ว่าจะมาจากต่างที่และสังคมกันก็รวมเป็นหนึ่งเดียวกันได้ โดยได้สอนเด็กๆ ว่า
“ถ้าโชคดีแล้วต้องมอบโอกาสดีๆ ให้คนที่ไม่มีโอกาส”
ศิลปะการแสดงช่วยทำให้เด็กที่เคยหลงผิดนั้นมีคุณค่า มีตัวตน และภูมิใจในสิ่งที่ทำ อีกทั้งยังจรรโลงจิตใจให้เบิกบาน เรียกได้ว่าศาสตร์การละครนั้นนอกจากสะท้อนปัญหาครอบครัวและนำเสนอแนวทางการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์แล้ว ยังเป็นการขัดเกลาจิตใจจากข้างในอีกด้วย
สุดท้ายแล้วจึงได้เรียนรู้ว่าการสอนที่ดีนั้นไม่ใช่การข่มขู่ หรือบังคับ ควรเปลี่ยนเป็นการขอร้องแล้วใช้เหตุผลประกอบ ทำให้ต่างคนต่างรับฟังซึ่งกันและกันมากขึ้น ด้วยความเชื่อที่ว่าไม่มีเด็กคนไหนโง่ แค่ไม่มีคนให้ข้อมูล เมื่อใช้ความเข้าใจมาคุยกัน การสื่อสารจากคนต่างรุ่นก็เป็นเรื่องง่าย

กลับมาร่วมงานอีกครั้งในเสน่ห์รอยรั่ว
เมื่อละครเวทีเสน่ห์รอยร้าวจบลงสักพักแล้ว ปัญหาของเด็กและเยาวชนก็ไม่ได้หมดไป ยังมีอีกหลายเรื่องที่สามารถขยายให้เห็นถึงต้นตอของปัญหาที่แท้จริงได้ อยากนำเสนอปัญหาเล็กๆ น้อยๆ ในชีวิตประจำวัน เช่น แสดงกิริยาก้าวร้าว พูดติดอ่าง เก็บความรู้สึก เป็นต้น จึงเกิดเป็นละครเสน่ห์รอยรั่วที่จะมาอุดบาดแผลในใจเด็กหลายคน โดยนำเสนอเป็นจำนวนตอนที่มากขึ้น
ด้วยความที่ละครปัจจุบันเน้นนำเสนอแต่ความก้าวร้าว และรุนแรง จึงอยากสร้างละครน้ำดีที่เริ่มจุดประกายให้คนอยากทำความดี เมื่อเห็นจนชินแล้วจึงเริ่มอยากทำตาม ถึงจะมีความก้าวร้าวแต่สามารถนุ่มนวลลงได้ด้วยศิลปศาสตร์
“นุ่มนวลแต่ยังรักษาตัวเองได้ จิตใจจะสบาย”
“จิตใจสบาย จะสร้างสิ่งที่ดีงามได้”
เมื่อจำนวนตอนนั้นมีมากขึ้นแล้ว การร่วมงานกันของแต่ละฝ่ายจึงมีมากขึ้นและยาวนานมากขึ้น มีการดึงดารานักแสดงมาร่วมแสดง เช่น ตั๊ก นภัสรัญชน์ มิตรธีรโรจน์ จุ๋ม สุมณฑา สวนผลรัตน์ บอส ธวัชนินทร์ ดารายน เป็นต้น
ถือเป็นโอกาสที่ดีในการฝึกเด็กในโรงเรียนภัทราวดี หัวกิน ให้มีหน้าที่รับผิดชอบในกองถ่ายซึ่งได้ทั้งซึมซับ และเรียนรู้ว่าถนัดสิ่งใด เรียนจบแล้วจะเส้นทางใดต่อในชีวิต บางคนเจอแล้ว บางคนอาจกำลังหาต่อไป อย่างไรแล้วการอยู่ใกล้ครูที่ดีจะช่วยชีวิตได้มาก
“เด็กเติบโตได้ถ้ามีผู้ใหญ่สนับสนุนและให้ความสำคัญ เหมือนเมล็ดพันธุ์ที่บ่มเพาะบนดินที่ดี สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ถึงจะเจริญงอกงามเติบโตทุกเม็ดได้”
ความรู้ที่ได้รับจากความร่วมมือนี้
- ความไว้ใจและเชื่อใจเด็กสำคัญมาก ทำให้พร้อมซึมซับคำสอนที่ดีจากผู้ใหญ่
- เด็กจะกลับมาเห็นคุณค่าในชีวิตได้ ถ้าข้างในได้รับการเติมเต็มจากข้างใน
- ดูแลสิ่งแวดล้อมรอบข้างให้สะอาด มองด้วยตาแล้วสบายใจ ถึงดูแลใจได้
- ศิลปะสามารถเยียวยาจิตใจผู้คนได้
- สายสัมพันธ์ที่ดี และได้แลกเปลี่ยนกันอย่างต่อเนื่องส่งผลต่อความร่วมมือไปสู่วงกว้างได้มากขึ้น
- ทุกคนสามารถทำงานร่วมกันได้ถ้าเคารพซึ่งกันและกัน
- เรียนรู้การทำงานต่างมุมมองกัน แต่ไปด้วยกันได้
- ทำงานร่วมกันแล้วได้ความรู้เริ่ม จะยิ่งมีคุณค่ามากยิ่งขึ้น

ร่วมมือเพื่อส่งต่อไปสู่วงกว้าง
ความท้ายทายใหม่คือการส่งต่อคอนเทนต์น้ำดีไปสู่วงกว้างผ่านโลกออนไลน์ ซึ่งจะต้องใช้ความร่วมมือจากทุกๆ คน เพราะปัญหาของเด็กและเยาวชนนั้นยังรอการแก้ไข ถ้าสถาบันครอบครัวมีความเข้าใจบุตรหลานจนมีความเข้มแข็งมากพอแล้ว ปัญหาหาของเด็กจะทุเลาลง ซึ่งละครเสน่ห์รอยรั่วได้สะท้อนสิ่งเหล่านี้ออกมาเป็นอย่างดี
นอกจากนี้ยังได้เห็นถึงความธรรมชาติของนักแสดงแต่ละคน ได้ฟังวาทศิลป์ ได้มองอะไรหลากหลายมุมยิ่งขึ้น ยิ่งมองยิ่งเพลิน เพราะภาพสวย ตัดต่อปราณีต เพลงสนุกสนาน นำเสนอมุมมองที่ไม่ค่อยมีใครทำ ทุกองค์ประกอบที่กลมกล่อมเหมือนวัตถุดิบชั้นดีที่นำมาปรุงด้วยกันจนได้อาหารจานเด็ดที่ทานได้ไม่เบื่อ แถมสารอาหารครบ
เมื่อทุกคนมีความเชื่อเดียวกันว่ากำลังส่งต่อสิ่งดีๆ ไปสู่สังคมแล้ว จึงเกิดความร่วมมือจนเป็นหนึ่งเดียวจากพวกเรา หรือ We
“ทุก generation อยู่ร่วมกันได้ถ้าเคารพกัน”
“คิดดี ทำดี จะมีสิ่งดีๆ เข้ามา”
จากความเชื่อที่ว่า ศิลปะช่วยเยียวยาจิตใจเด็กได้ เพื่อใช้ชีวิตให้เหมาะสมและมีศีลธรรมต่อไป เชื่อว่าไม่มีเด็กไม่ดีและเด็กโง่อยู่บนโลก อยู่ที่ว่าผู้ใหญ่สามารถเข้าใจเด็กได้มากน้อยเพียงใด เป็นหนึ่งในแรงขับเคลื่อนให้ครูเล็ก ภัทราวดี มีชูธน ริเริ่มโปรเจคใหม่แล้วสานต่ออย่างสม่ำเสมอ
จากการตั้งคำถามสู่การให้ความเมตตา
ครูเล็กเริ่มตั้งคำถามกับตนเองว่าจะทำอย่างไรให้ชีวิตศิลปินนั้นมีคุณค่ามากกว่าเพียงได้ชื่อว่าเป็นศิลปินแห่งชาติ จนมาเจอป้ามลที่ใช้ความรักดึงด้านที่สวยงามของเด็กบ้านกาญจนาออกมาได้
จากแรงบันดาลใจจากป้ามล ทิชา ณ นคร ที่โอบกอดเยาวชนที่เคยติดคุกที่บ้านกาญจนาด้วยความรักความเข้าใจ ทำให้ครูเล็ก ภัทราวดี เริ่มจุดประกายในการทำเสน่ห์รอยร้าว ก้าวไปสู่เสน่ห์รอยรั่ว จุดประกายจากคนหนึ่งสู่คนหนึ่งกลายมาเป็นความร่วมมือจากหลายคนจนมาเป็นละครสะท้อนสังคม
อยู่มาวันหนึ่ง ครูเล็กได้มีโอกาสถามเด็กบ้านเพชรหึงษ์ว่าทำไมถึงไม่กลับบ้าน เด็กตอบว่ากลับไปก็ไม่มีใครรักเขาเลย ครูจึงคอยแวะเวียนมาเยี่ยมเยียนอย่างสม่ำเสมอ สอนทำอาหาร สอนให้เด็กเล่นเสกต จนเด็กเริ่มไว้ใจ เมื่อเติมเต็มสุนทรียภาพทางจิตใจ เด็กจะเริ่มอยากดูแลตนเองด้วยการรักษาความสะอาด ไม่กลับไปเสพยา และกลับไปเรียนการศึกษานอกโรงเรียนจนจบ ทำให้เห็นว่าเมตตาเปลี่ยนเด็กไปในทางที่ดีขึ้น
เมื่อเด็กแต่ละคนเริ่มเก่งขึ้น จึงอยากหาอะไรให้ทำเพิ่มเพื่อสอนให้เห็นคุณค่าชีวิต จึงเกิดปิ๊งแว้บได้โครงเรื่องจากเรื่องราวปัญหาของเด็กแต่ละคนมาทำละครเวทีเสน่ห์รอยร้าว และทำลานเสกตที่หัวหินเพื่อละครเรื่องนี้และใช้เล่นเสกตต่อไปในอนาคต
ปรากฏว่าได้เสียงตอบรับเป็นอย่างดี คนดูชอบมากเนื่องจากคุณพ่อคุณแม่หลายคนไม่รู้เลยว่าเลี้ยงลูกมาผิดวิธี แล้วเนื้อหานั้นกระแทกใจคนดูเป็นอย่างมาก

แม้ต่างที่มา ก็สามารถทำงานร่วมกันได้
นักแสดงเรื่องเสน่ห์รอยร้าวนั้นไม่ใช่คนอื่นไกล มาจากเด็กพระประแดง ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนบ้านกาญจนาภิเษก และโรงเรียนภัทราวดี หัวหิน ที่สมัครใจอยากเล่นเรื่องนี้ ซึ่งได้รับการฝึกฝนทั้งการเล่นเสกตและการแสดงจนสามารถเล่นได้ อีกทั้งยังมีลูกศิษย์โรงเรียนภัทราวดี หัวหิน และศิลปินมืออาชีพ อาทิ นรินทร ณ บางช้าง, ช.อ้น ณ บางช้าง, จักรินทร์ เพชรวรพล (แชมป์เสกตบอร์ด) ที่มาร่วมเล่นละครเวทีเรื่องนี้
ทีมงานสามารถทำงานร่วมกันได้เป็นอย่างดีแม้ว่าจะมาจากต่างที่และสังคมกันก็รวมเป็นหนึ่งเดียวกันได้ โดยได้สอนเด็กๆ ว่า
“ถ้าโชคดีแล้วต้องมอบโอกาสดีๆ ให้คนที่ไม่มีโอกาส”
ศิลปะการแสดงช่วยทำให้เด็กที่เคยหลงผิดนั้นมีคุณค่า มีตัวตน และภูมิใจในสิ่งที่ทำ อีกทั้งยังจรรโลงจิตใจให้เบิกบาน เรียกได้ว่าศาสตร์การละครนั้นนอกจากสะท้อนปัญหาครอบครัวและนำเสนอแนวทางการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์แล้ว ยังเป็นการขัดเกลาจิตใจจากข้างในอีกด้วย
สุดท้ายแล้วจึงได้เรียนรู้ว่าการสอนที่ดีนั้นไม่ใช่การข่มขู่ หรือบังคับ ควรเปลี่ยนเป็นการขอร้องแล้วใช้เหตุผลประกอบ ทำให้ต่างคนต่างรับฟังซึ่งกันและกันมากขึ้น ด้วยความเชื่อที่ว่าไม่มีเด็กคนไหนโง่ แค่ไม่มีคนให้ข้อมูล เมื่อใช้ความเข้าใจมาคุยกัน การสื่อสารจากคนต่างรุ่นก็เป็นเรื่องง่าย

กลับมาร่วมงานอีกครั้งในเสน่ห์รอยรั่ว
เมื่อละครเวทีเสน่ห์รอยร้าวจบลงสักพักแล้ว ปัญหาของเด็กและเยาวชนก็ไม่ได้หมดไป ยังมีอีกหลายเรื่องที่สามารถขยายให้เห็นถึงต้นตอของปัญหาที่แท้จริงได้ อยากนำเสนอปัญหาเล็กๆ น้อยๆ ในชีวิตประจำวัน เช่น แสดงกิริยาก้าวร้าว พูดติดอ่าง เก็บความรู้สึก เป็นต้น จึงเกิดเป็นละครเสน่ห์รอยรั่วที่จะมาอุดบาดแผลในใจเด็กหลายคน โดยนำเสนอเป็นจำนวนตอนที่มากขึ้น
ด้วยความที่ละครปัจจุบันเน้นนำเสนอแต่ความก้าวร้าว และรุนแรง จึงอยากสร้างละครน้ำดีที่เริ่มจุดประกายให้คนอยากทำความดี เมื่อเห็นจนชินแล้วจึงเริ่มอยากทำตาม ถึงจะมีความก้าวร้าวแต่สามารถนุ่มนวลลงได้ด้วยศิลปศาสตร์
“นุ่มนวลแต่ยังรักษาตัวเองได้ จิตใจจะสบาย”
“จิตใจสบาย จะสร้างสิ่งที่ดีงามได้”
เมื่อจำนวนตอนนั้นมีมากขึ้นแล้ว การร่วมงานกันของแต่ละฝ่ายจึงมีมากขึ้นและยาวนานมากขึ้น มีการดึงดารานักแสดงมาร่วมแสดง เช่น ตั๊ก นภัสรัญชน์ มิตรธีรโรจน์ จุ๋ม สุมณฑา สวนผลรัตน์ บอส ธวัชนินทร์ ดารายน เป็นต้น
ถือเป็นโอกาสที่ดีในการฝึกเด็กในโรงเรียนภัทราวดี หัวกิน ให้มีหน้าที่รับผิดชอบในกองถ่ายซึ่งได้ทั้งซึมซับ และเรียนรู้ว่าถนัดสิ่งใด เรียนจบแล้วจะเส้นทางใดต่อในชีวิต บางคนเจอแล้ว บางคนอาจกำลังหาต่อไป อย่างไรแล้วการอยู่ใกล้ครูที่ดีจะช่วยชีวิตได้มาก
“เด็กเติบโตได้ถ้ามีผู้ใหญ่สนับสนุนและให้ความสำคัญ เหมือนเมล็ดพันธุ์ที่บ่มเพาะบนดินที่ดี สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ถึงจะเจริญงอกงามเติบโตทุกเม็ดได้”
ความรู้ที่ได้รับจากความร่วมมือนี้
- ความไว้ใจและเชื่อใจเด็กสำคัญมาก ทำให้พร้อมซึมซับคำสอนที่ดีจากผู้ใหญ่
- เด็กจะกลับมาเห็นคุณค่าในชีวิตได้ ถ้าข้างในได้รับการเติมเต็มจากข้างใน
- ดูแลสิ่งแวดล้อมรอบข้างให้สะอาด มองด้วยตาแล้วสบายใจ ถึงดูแลใจได้
- ศิลปะสามารถเยียวยาจิตใจผู้คนได้
- สายสัมพันธ์ที่ดี และได้แลกเปลี่ยนกันอย่างต่อเนื่องส่งผลต่อความร่วมมือไปสู่วงกว้างได้มากขึ้น
- ทุกคนสามารถทำงานร่วมกันได้ถ้าเคารพซึ่งกันและกัน
- เรียนรู้การทำงานต่างมุมมองกัน แต่ไปด้วยกันได้
- ทำงานร่วมกันแล้วได้ความรู้เริ่ม จะยิ่งมีคุณค่ามากยิ่งขึ้น

ร่วมมือเพื่อส่งต่อไปสู่วงกว้าง
ความท้ายทายใหม่คือการส่งต่อคอนเทนต์น้ำดีไปสู่วงกว้างผ่านโลกออนไลน์ ซึ่งจะต้องใช้ความร่วมมือจากทุกๆ คน เพราะปัญหาของเด็กและเยาวชนนั้นยังรอการแก้ไข ถ้าสถาบันครอบครัวมีความเข้าใจบุตรหลานจนมีความเข้มแข็งมากพอแล้ว ปัญหาหาของเด็กจะทุเลาลง ซึ่งละครเสน่ห์รอยรั่วได้สะท้อนสิ่งเหล่านี้ออกมาเป็นอย่างดี
นอกจากนี้ยังได้เห็นถึงความธรรมชาติของนักแสดงแต่ละคน ได้ฟังวาทศิลป์ ได้มองอะไรหลากหลายมุมยิ่งขึ้น ยิ่งมองยิ่งเพลิน เพราะภาพสวย ตัดต่อปราณีต เพลงสนุกสนาน นำเสนอมุมมองที่ไม่ค่อยมีใครทำ ทุกองค์ประกอบที่กลมกล่อมเหมือนวัตถุดิบชั้นดีที่นำมาปรุงด้วยกันจนได้อาหารจานเด็ดที่ทานได้ไม่เบื่อ แถมสารอาหารครบ
เมื่อทุกคนมีความเชื่อเดียวกันว่ากำลังส่งต่อสิ่งดีๆ ไปสู่สังคมแล้ว จึงเกิดความร่วมมือจนเป็นหนึ่งเดียวจากพวกเรา หรือ We